การตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐาน
สมมติฐาน หมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าวได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยที่ความ
เชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ เช่น
- เจ้าของร้านค้าปลีกคาดว่าจะมีกำไรสุทธิจากการขายสินค้าต่อปีไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
- หัวหน้าพรรคการเมือง A …..คาดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในคราวหน้า พรรคอื่นๆ จะได้ที่นั่งในสภาต่ำกว่า 50% ของทั้งหมด
- คาดว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชากรในจังหวัดพิษณุโลกเท่ากับ 15,000 บาท
2. ความแตกต่างของสมมติฐานกับการพยากรณ์
การตั้งสมมติฐาน คือ การทำนายผลล่วงหน้าโดยไม่มีหรือไม่ทราบ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างข้อมูล
การพยากรณ์ คือ การทำนายผลล่วงหน้าโดยการมีหรือทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทำนายล่วงหน้า
3. หลักการตั้งสมมุติฐาน
1) สมมติฐานต้องเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรต้น กับ ตัวแปรตาม
2) ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อาจตั้งหนึ่งสมมติฐานหรือหลายสมมติฐานก็ได้ สมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า สมมติฐานที่
ตั้งขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่ซึ่งจะทราบภายหลังจากการทดลองหาคำตอบแล้ว
ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน
อะไรมีผลต่อความเร็วรถ (ความเร็วรถขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง)
สมมติว่า นักเรียนเลือกขนาดของยางรถยนต์ เป็นตัวแปรที่ต้องการทดสอบ ก็อาจตั้งสมมติฐานได้ว่าเมื่อขนาดของยางรถยนต์ใหญ่ขึ้น ความเร็วของรถยนต์จะลดลง
(ตัวแปรต้น : ขนาดของยางรถยนต์) (ตัวแปรตาม : ความเร็วของรถยนต์)
4. การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1) เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย มักนิยมใช้วลี "ถ้า…ดังนั้น"
2) เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
3) เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
4) เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทำให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่
ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร