การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล ( Presentation of Data )
ในการรวบรวมข้อมูลสถิตินั้นเราเก็บข้อมูลได้แล้วก็นำไปสู่การนำข้อมูลที่เรารวบรวมได้นำเสนอหรือแสดงให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ ซึ่งเราอาจนะเสนอข้อมูลได้ในหลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลนั้น ข้อมูลบางอย่างอาจจะไม่จำเป็นต้องนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ อาจจะนำเสนอข้อมูลอย่างง่ายๆ ซึ่งจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น
1. การนำเสนอข้อมูลโดยบทความ ( Text Presentation )
การนำเสนอข้อมูลโดยบทความ จะมีลักษณะการเสนอเป็นบทความสั้นๆ และมีข้อมูลตัวเลขอยู่ด้วย ซึ่งทำให้อ่านเข้าใจง่าย อาจเป็นการนำเสนอบทความทางวิทยุ โทรทัศน์ หรืออาจจะเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ วารสาร และรายงานต่าง ๆ
ตัวอย่างที่ 2.1
“ ในปี พ.ศ. 2537 มีจำนวนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยของรัฐประมาณ 85,000 คน ซึ่งคาดว่าในปีการศึกษา 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 110,000 ”
“ ในปี พ.ศ. 2536 ชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่ สามารถส่งลำไยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2535 จำนวน 2.5 ล้านบาท ”
2. การนำเสนอโดยบทความกึ่งตาราง ( Seml – Tabular Presentation )
เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยแยกตัวเลขออกจากข้อความ หรือการนำเสนอบทความแต่มีการตั้งแนวตัวเลขขึ้นในบทความ เพื่อให้เห็นตัวเลขชัดเจน และเปรียบเทียบสะดวกเมื่อต้องการ
3. การนำเสนอโดยตาราง ( Tabular Presentation )
คือการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง กรอกข้อมูลที่เป็นตัวเลขโดยแบ่งเป็นแถวตั้ง (Columns ) และแถวนอน ( Row ) เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบ ซึ่งลักษณะของตารางขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการนำเสนอข้อมูล
ส่วนประกอบของตารางสถิติที่ควรมี
1. หมายเลขตาราง ( Table Number )
2. ชื่อเรื่อง ( Title )
3. หมายเหตุ ควรมีต่อท้ายให้ทราบแหล่งที่มาของข้อมูล พร้อมทั้งอธิบายให้ทราบว่าข้อมูลในตารางมาจากไหน เป็นข้อมูลประเภทใด เพื่อทำให้เข้าใจดียิ่งขึ้น
4. หัวเรื่อง ( Caption ) เป็นส่วนประกอบของหัวขั้ว เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ขึ้นหรือเป็นคำอธิบายตัวเลขในแนวนอน ( อาจมีหลายหัวเรื่อง )
5. ต้นขั้ว ( Stub ) ประกอบด้วย หัวขั้วและต้นขั้ว หัวขั้วเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับตัวเลขในแนวตั้ง อาจมีหลายขั้ว
6. ตัวเรื่อง ( Body ) ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลข
- - - - - - - - - - หัวขั้ว ( Stup head ) - - - - - - - -
|
- - - - - - - - - - หัวเรื่อง (Caption) - - - - |
- - - - - - - ต้นขั้ว (Stup Entries) - - - - - - - - -
|
- - - - - - - - - - - ตัวเรื่อง ( Body ) - - - - |
4. การนำเสนอด้วยกราฟหรือแผนภูมิ ( Graphical Presentation )
เมื่อได้จัดข้อมูลที่จะนำเสนอแล้ว เราอาจจะพิจารณาในการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟหรือแผนภูมิ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ดี เพราะรูปภาพที่แสดงข้อมูลจะทำให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้อ่านเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วกว่าวิธีอื่น ๆ การรำเสนอด้วยกราฟหรือแผนภูมิมีหลายลักษณะดังนี้
1. แผนภูมิวงกลม ( Pie Chart )
2. แผนภูมิแท่งหรือกราฟแท่ง ( Bar Chart )
3. กราฟเส้น ( Line Graphs )
4. แผนภูมิภาพ ( Pictogram )
1.1 กราฟวงกลมหรือแผนภูมิวงกลม ( Pie Chart ) เป็นการนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้ในรูปวงกลม โดยมีการแบ่งพื้นที่ภายในวงกลมออกเป็นส่วน ๆ ในการเปรียบเทียบ แต่มีหลายลักษณะของกลุ่มประชากร เช่น มีสถิติจำนวนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตามคณะ หรือการทำงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำแนกตามประเภทของโครงการ การสร้างกราฟวงกลม
1. แผนภูมิวงกลมจะแสดงถึงร้อยละของจำนวนค่าที่สังเกตซึ่งเท่ากับค่าสังเกตในแต่ละชั้น เมื่อเทียบกับข้อมูลทั้งหมด
2. พื้นที่วงกลมทั้งหมดเป็น 100 ส่วน เท่ากับ 360o หรือ 360o เท่ากับ100 % ( 1% เท่ากับ 3.6o )
3. แบ่งพื้นที่ในวงกลมตามค่าร้อยละที่คำนวณได้ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย
4. ทำให้เห็นข้อแตกต่างในแต่ละส่วนเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ
ตัวอย่างที่ 2.3
ในการสำรวจของอาชีพผู้ปกครองนักศึกษา 300 คน จำแนกเป็นทำธุรกิจส่วนตัว รัฐวิสาหกิจ รับราชการ บริษัทเอกชน อื่น ๆ ดังนี้
อาชีพผู้ปกครอง |
จำนวน |
ธุรกิจส่วนตัว รัฐวิสาหกิจ รับราชการ บริษัทเอกชน อื่น ๆ |
40 30 60 160 10 |
รวม |
300 |
วิธีทำ 1. หาค่าร้อยละของความถี่แต่ละอาชีพ
อาชีพผู้ปกครอง |
จำนวน |
ร้อยละ |
องศา |
ธุรกิจส่วนตัว รัฐวิสาหกิจ รับราชการ บริษัทเอกชน อื่น ๆ |
45 30 60 150 15 |
15 10 20 50 5 |
54 36 72 180 18 |
รวม |
300 |
100 |
360 |
2. สร้างวงกลม และแบ่งเป็นส่วน ๆ โดยให้ 1% เท่ากับ 3.6 O
ข้อสังเกต
1. พื้นที่วงกลมทั้งหมดคิดเป็นร้อยส่วน หรือ 100% และมุมรอบ ๆ จุดศูนย์กลางของวงกลมคือ 360O
2. 360O ถือว่าแป็น 100 ส่วน และ 1 ส่วน หรือ 1 % จะเท่ากับ 3.6O
1.2 แผนภูมิรูปภาพ ( Pictogram ) คือแผนภูมิที่ใช้รูปภาพแทนค่าตัวเลขจำนวนหนึ่งของข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ภาพรถยนต์ 1 คัน แทนจำนวนรถที่นำเสนอ 1,000 คน หรือภาพคน 1 ภาพแทนประชากรที่นำเสนอ 100 คน ซึ่งรูปภาพนั้นจะแทนของจริงจำนวนเท่าไรก็ได้ แล้วแต้ปริมาณมากน้อยของข้อมูลที่นำเสนอ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย แปลความหมายได้ทันที่และน่าสนใจมากขึ้น
1.3 แผนภูมิแท่งหรือกราฟแท่ง ( Bar Chart ) คือแผนภูมิที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวของแต่ละรูปเป็นขนาดของข้อมูล มีช้องไฟแต่ละช่องความกว้างของแงจะคงที่ จะใช้กับการเปรียบเทียบรายการข้อมูลที่แตกต่างกันหลายรายการ หรือข้อมูลที่จำแนกตามลักษณะคุณภาพ เวลา หรือความถี่ ซึ่งทำให้ผู้คนเข้าใจง่ายด้วยตนเอง
ตัวอย่างที่ 2.4 แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบนักศึกษาชายหญิงของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ในปี 2534 – 2537
1.4 กราฟเส้น ( Line Graphs ) การนำเสนอโดยกราฟเส้นจะเป็นที่นอยมใช้กันมากใช้กับข้อมูลอนุกรมเวลา ( Time Series Data ) ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น เกิดขึ้นและมีจำนวนมาก เป็นการสร้างที่ง่าย อาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ ใช้เปรียบเทียบระหว่างหลายรายการในระยะยาว
ตัวอย่างที่ 2.5 กราฟเส้นแสดงข้อมูลของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระหว่างปี 2533 – 2537
2. แผนที่สถิติ ( Statistical Map ) คือ แผนที่นำเสนอข้อมูลโดยอาศัยหลักทางภูมิศาสตร์ เพื่อทำการเปรียบเทียบข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นไปได้โดยง่าย เปรียบเทียบข้อมูลแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับสถิติที่จำแนกตามภูมิภาคหรือสภาพภูมิศาสตร์เช่น แผนที่สถิติของเขตที่ทำการปลูกข้าวในจังหวัดหรือภาคใด ๆ