การสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้
การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม และคำว่า
thesis แปลว่าปรากฏการณ์ใหม่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ มีความหมาย คือ
ประชุม)การสังเคราะห์ เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจ
เป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์
ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณา
ภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้นบาง
ปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้วขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่
ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ
ที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและ
นามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้น
ก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน
ขั้นตอนการสังเคราะห์
1.กำหนดหัวเรื่องและจุดประสงค์ที่จะสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการสังเคราะห์
เพื่อให้เกิดบูรณาภาพหรือปรากฏการณ์ใหม่ในรูปแบบใด เช่นเพื่อให้เกิดผลผลิต เพื่อให้
เกิดข้อสรุป หรือ เพื่อให้เกิดการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตโดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้
ชัดเจนด้วยว่าจะสังเคราะห์เพื่อนำผลการสังเคราะห์ที่ได้ไปดำเนินการในสิ่งใดต่อ
2.จัดเตรียมปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่จะนำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นคน
สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นประเด็นนามธรรมต่างๆ คัดกรอง คัดเลือกให้ได้ข้อมูลหรือปัจจัย
วัตถุดิบต่างๆที่มีคุณภาพเพื่อนำสู่กระบวนการสังเคราะห์
3.สังเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่เตรียมไว้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยให้
กระบวนการสังเคราะห์มุ่งที่การนำปรากฏการใหม่หรือบูรณาภาพที่ได้จากการสังเคราะห์ไป
ใช้ให้เกิดประโยชน์ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์
4.ตรวจสอบและประเมินผลการสังเคราะห์ที่ได้ว่าน่าจะมีความแม่นยำ ความเที่ยง และ
ความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดเพื่อเตรียมนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
4.1ผลการสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ มีความแม่นยำน่าเชื่อถือและมีความเป็นไปได้สูง
สามารถนำผลของการสังเคราะห์ดำเนินการนำไปใช้ในขั้นต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์
4.2 ผลของการสังเคราะห์ที่ไม่มีคุณภาพ ให้นำผลของการสังเคราะห์นั้นเข้าสู่
กระบวนการวิเคราะห์เพื่อดำเนินการแยกแยะตรวจสอบหาที่มาของปัจจัยและองค์ประกอบ
ต่างๆที่ได้นำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพของผู้ทำการสังเคราะห์
เพื่อสืบค้นหาที่มาและเหตุปัจจัยที่ทำให้ผลของการการสังเคราะห์เป็นผลการสังเคราะห์ที่
ไม่มีคุณภาพ และเมื่อวิเคราะห์หาเหตุปัจจัยต่างๆนั้นได้แล้วให้แก้ไขปรับปรุงหรือ
เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาข้อมูลหรือองค์ประกอบปัจจัยต่างๆนั้นให้มีคุณภาพต่อไปเพื่อนำ
เข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
5.นำผลการสังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายโดยจะนำเสนอต่อสาธารณะหรือเก็บ
เป็นข้อมูลสังเคราะห์ส่วนตัวก็แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ทำการสังเคราะห์ เช่น สังเคราะห์
สถานการณ์ปัจจุบันเพื่อนำไปใช้ประกอบการคาดเดาโอกาสของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
ได้ในอนาคต