การแสดงพื้นเมือง

                 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา  ศ21101     ศิลปะ 1              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

              หน่วยการเรียนรู้ที่  2  รำแบบพื้นบ้าน          เรื่อง  การแสดงพื้นเมือง

..........................................................................................................................................................................

 

เพลงพื้นเมือง หรือ การแสดงพื้นเมือง

       เป็นการแสดงที่มักมีที่มาจากการประกอบอาชีพ  หรือ  ขนบประเพณีของแต่ละท้องถิ่น   ซึ่งมีความแตกต่างกันไป
   ตามสภาพความเป็นอยู่และภูมิประเทศ  จัดประเภทการแสดงพื้นเมืองตามภูมิภาคได้  4   ภาค  ดังนี้

                1. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   ได้แก่  เพลงเกี่ยวข้าว
   เพลงเต้นกำรำเคียว  เพลงสงฟางหรือเพลงที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ ขนบประเพณีได้แก่  เพลงเรือ  เพลงลำตัด  เพลงฉ่อย
   เพลงอีแซว  รำกลองยาวหรือ รำเถิดเทิง เป็นต้น

                2. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ   เพลงที่เกี่ยวกับขนบประเพณี ได้แก่  เพลงซอ  ฟ้อนเทียน    ฟ้อนเล็บ   ฟ้อนที (ระบำร่ม)  ฟ้อนเงี้ยว  การตีกลองสะบัดชัย หรือเพลงที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ได้แก่  ฟ้อนสาวไหม   
   ระบำเก็บใบชา  เป็นต้น

                3. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  เพลงที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  เช่น  เพลงนา ระบำร่อนแร่
  ระบำกรีดยาง  ระบำปาเต๊ะ หรือ เพลงที่เกี่ยวกับประเพณี  วิถีชีวิตได้แก่  เพลงบอก ใช้ในการบอกกล่าวงานต่าง ๆ หรืออวยพร 
  สั่งสอน  รำโนรา  หนังตะลุง  เป็นต้น

                4. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี  วิถีชีวิต ได้แก่  เซิ้งบั้งไฟ
  ฟ้อนภูไท  หมอลำ  รำแพรวากาฬสินธุ์ หรือ เพลงที่เกี่ยวการประกอบอาชีพ เช่น  เซิ้งกระติ๊บ  เซิ้งขุดหน่อไม้
  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เป็นต้น