หลักการวิจารณ์การแสดง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศ31102 ศิลปะ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิจารณ์การแสดง เรื่อง การวิจารณ์การแสดง
...............................................................................................................................
การดูละคร หรือ ภาพยนตร์นั้น ผู้ดูจะต้องทำตัวให้สบาย เตรียมพร้อมที่จะใช้สติปัญญา พื้นความรู้ เพื่อรู้สึกชื่นชมกับสิ่งที่ดู ส่วนในการวิจารณ์ละครแบบสากลนั้น มีหัวข้อที่ควรวิจารณ์ โดยสังเขปดังนี้
สถานการณ์นาฏกรรม
- แนวคิดพื้นฐานของละครนั้นอาจมีได้ในชีวิตจริงหรือไม่
- ดูแล้วได้ความคิด / ข้อคิด หรือประสบการณ์ใดเพิ่ม
- เห็นด้วยกับกับแนวคิดของเรื่องหรือไม่
โครงเรื่อง
- เหตุการณ์ในละครชัดเจน แจ่มแจ้งเพียงใด
- น่าสนใจตลอดเรื่องหรือไม่
- จบเช่นนั้นสมควรหรือไม่ ถ้าไม่ควรจบอย่างไร
การสร้างตัวละคร
- ตัวละครมีชีวิต จิตใจคล้ายคนจริงหรือไม่ (จัดเป็นตัวละครแบบใด)
- ตัวละครทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเห็นใจ น่าเอ็นดู ตลกขบขัน ชื่นชม เกลียดชัง ฯลฯ เพียงใด
บทสนทนา
- บทพูดคมคาย น่าฟัง น่าสนใจเพียงใด
- คำพูดของตัวละครเหมาะสมกับนิสัย และสิ่งแวดล้อมในเรื่องหรือไม่
- เมื่อดูจบแล้วมีอะไรในคำพูดของตัวละครคำใดบ้างที่ติดใจ ต้องจำ
การแสดง
- ตัวละครแสดงได้สมบทบาทหรือไม่
- ผู้แสดงๆได้อย่างธรรมชาติ หรือ เป็นแต่เพียงพยายามจะแสดง
- การแสดงของตัวละครทำให้ผู้ชมต้องหัวเราะ ร้องไห้ เศร้า หรือไม่
- วิธีการพูด น้ำเสียง การใช้ภาษาถิ่นถูกต้องเพียงใด
- ผู้แสดงสามารถรักษาบุคลิกภาพของตัวละครไว้ได้เสมอต้นเสมอปลายหรือไม่
การจัดเวที แสง เสียง
- ฉาก / สถานที่เข้ากับเนื้อเรื่องหรือไม่ ช่วยเสริมบรรยากาศให้กับละครได้ดีเพียงใด
- เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับเหมาะกับตัวละครเพียงใด
- การให้แสงสอดคล้อง เสริมบรรยากาศให้ละครหรือไม่
- เพลงประกอบมีความเหมาะสม ช่วยสร้างบรรยากาศได้ดีเพียงใด