คำอธิบายรายวิชา

วิชา ท ๒๑๑๐๑
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   ๑
ภาคเรียนที่  ๒  เวลา  ๖๐   ชั่วโมง
หน่วยกิจ ๑.๕  หน่วยกิต

     ฝึกอ่านออกเสียงร้อยแก้วที่เป็นบทบรรยาย  บทร้อยกรองประเภท  กลอน  กาพย์ โคลง จับใจความสำคัญจากการอ่าน  แสดงความคิดเห็น  ตีความ  วิเคราะห์คุณค่าจากเรื่องที่อ่านประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้ในกระบวนการอ่าน  สร้างความรู้ความคิดไปใช้ในการตัดสินแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและนิสัยรักการอ่าน

     ฝึกเขียนเรียงความเชิงพรรณนา  เขียนย่อความจากสื่อต่าง ๆที่กำหนดให้  เขียนบรรยายประสบการณ์  เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ  เขียนจดหมายส่วนตัวและจดหมายกิจธุระ  ฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  เพื่อใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร   เขียนเรียงความ  ย่อความ และเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีมรรยาทในการเขียน

     ฝึกสรุปความจากการฟัง  การดู  และการพูด  เล่าเรื่องย่อ มีมรรยาทในการฟัง  การดู และการพูด  บอกหลักการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า การพูดแสดงความคิดเห็นจากการฟัง  และดู  สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ

     ศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องเสียงในภาษาไทย เข้าใจเรื่องการสร้างคำ คำประสม คำซ้ำ  คำซ้อนและคำพ้อง  วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน แต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11  สามารถจำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต  เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและหลักภาษาไทย ภูมิปัญญาของภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ   และสามารถใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้เสริมสร้างลักษณะนิสัย  บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

     อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมต่าง ๆ  เขียนสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน  นำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  วิเคราะห์การอ่านบทร้อยกรอง  ท่องจำบทอาขยานที่กำหนดให้ นำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม  อ่านทำนองเสนาะ บทร้อยกรอง บอกคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย และนำมาใช้ในการสื่อสารได้  บอกคุณค่า ของภาษาไทย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย  เพื่อให้เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า  และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

รหัสตัวชี้วัดตัวชี้วัด

ท 1.1      ม.1 /       1 – 9      ท 2.1      ม.1 /       1 – 9      ท 3.1      ม.1 /       1 – 6

ท 4.1      ม.1 /       1 – 6      ท 5.1      ม.1 /       1 – 5                      รวม  35  ตัวชี้วัด