เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง รำแม่บทเล็ก
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศ31101 ศิลปะ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รำแม่บทเล็ก
ประวัติความเป็นมา
รำแม่บท คือ การแสดงที่เป็นแม่แบบของกระบวนท่า
ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
รำแม่บท หรือที่รู้จักกันทั่วไปเรียกว่า แม่บทนางนารายณ์
ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรงชุด นารายณ์ปราบนนทก ในปี 2498
กรมศิลปากรได้เชิญท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ด้านนาฏศิลป์ไทย ซึ่งท่านได้เรียบเรียงและประดิษฐ์ท่ารำประกอบ
บทร้องรำแม่บทเล็กขึ้นแต่ยังคงรูปแบบมาตรฐานไว้ ใช้ทำนองเพลงชมตลาด
มีลีลาเอื้อนช้า นุ่มนวลและ อ่อนช้อย ผู้ฝึกนาฏศิลป์จะต้องฝึกรำให้คล่องแคล่ว
ชำนาญเพื่อเป็นพื้นฐานในการรำเพลงอื่นๆต่อไป โดยทั่วไปท่ารำอย่างย่อ
ในรำแม่บทเล็กนั้นมี 18 ท่า ดังนี้
2. ปฐม
3. พรหมสี่หน้า
5. กวางเดินดง
6. หงส์บิน
8. ช้านางนอน
9. ภมรเคล้า
11. ผาลาเพียงไหล่
12. เมขลาล่อแก้ว
14. ลมพัดยอดตอง
15. พรหมนิมิต
17. มัจฉาชมสาคร
18. พระสี่กรขว้างจักร
เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถ้ำอำไพ
(ปี่พาทย์รับ)
อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร
(ปี่พาทย์รับ)
ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต อีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
การแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำแม่บทเล็ก
วงดนตรีประกอบการแสดง คือ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ผสมด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่า แบ่งได้เป็น 3 ขนาด คือ
1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
2. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ภาพประกอบ : นารายณ์ปราบนนทก
เอกสารอ้างอิง
พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.),สถาบัน. คู่มือครูนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) ,
2555