วิธีการร้อยมาลัย

ประวัติการร้อยมาลัย 

 

    

ความหมาย

มาลัย หมายถึง ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้ 
และส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้ที่ร้อยได้ มาร้อยเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบ ตั้งแต่แบบดั้งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่ ซึ่งก็ดัดแปลงมาจากแบบดั้งเดิมนั่นเอง

ประวัติการร้อยมาลัย

  

บรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อเสียงในงานด้านศิลปะการประดิษฐ์อย่างมากมาย โดยเฉพาะ การประดิษฐ์ตกแต่งพวงดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และวัสดุอื่น ๆ เป็นที่ขึ้นชื่อมานานแต่โบราณกาลแล้ว แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการเริ่มต้นมาแต่ในสมัยใดแน่ คงเนื่องมาแต่ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้นั่นเอง จึงไม่มีหลักฐานใดๆ ให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบค้น ต่อมาในสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี แต่ครั้งสมัยพระเจ้าอรุณมหาราช คือพระร่วงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระสนมเอก คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในงานด้านฝีมือในการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศ ในสมัยนั้นตามหลักฐานที่อ้างถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธี 12 เดือนตอนหนึ่งที่กล่าวถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งดงามวิจิตรกว่าโคม ของพระสนมอื่นทั้งปวง โดยการนำเอาดอกไม้ต่างๆ มาประดิษฐ์ตกแต่ง และยังได้เอาผลไม้ มาทำการแกะสลักตกแต่งประกอบไปด้วย แต่ก็มิได้มีการ อ้างถึงว่าในการตกแต่งครั้งนั้นมีการร้อยมาลัยมาประดับตกแต่งด้วย หรือไม่และในหลักฐานที่อ้างถึงตอนหนึ่งว่า ในเดือนเมษายนมีพระราชพิธีสนามใหญ่บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดีเข้าเฝ้าถวายบังคมสมเด็จพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ พระสนมกำนัลต่าง ๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ใส่เมี่ยงหมากถวายให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ผู้มาเฝ้าและในครั้งนั้นนางนพมาศ ก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นรองขัน มีระย้าระบายงดงามในขันใส่เมี่ยงหมาก แล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกทีหนึ่ง เป็นที่เจริญตาและถูก กาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าจึงทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นการสนามใหญ่ มีการอาวาห์มงคล หรือวิวาห์มงคล เป็นต้น ให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมากดังนี้ และให้เรียกว่า พานขันหมาก

ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มาลัยมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหน้าที่ใช้สอยต่าง ๆ กันไปตามโอกาสและความเหมาะสม ดังนั้นก็จะกล่าวรวม ๆ กัน มาลัยชนิดต่าง ๆ มีประโยชน์ดังนี้ คือ

1. ใช้สำหรับคล้องคอเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน เช่น เจ้าบ่าว- เจ้าสาว ในงานแต่งงาน ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มาร่วมงานคนใหม่ในงานเลี้ยงรับผู้มาใหม่ หรือผู้ที่จะย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ยังที่ทำงานอื่นในงานเลี้ยงส่งผู้ที่จะจากไปยังที่อื่น ถ้าจัดงานเป็นพิธีก็มักจะนิยมใช้มาลัยสองชายชนิดสำหรับคล้องคอ เพื่อเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติแก่บุคคลนั้น ๆ เป็นสำคัญ

2. ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก เช่น การต้อนรับแขกต่างประเทศ อาจใช้มาลัยสองชายสำหรับคล้องคอ ในตอนที่ไปรับที่สนามบิน เพื่อเป็นการบ่งบอกหรือแสดงออกถึงความยินดีที่บุคคลนั้น ๆ ได้มาเยี่ยมเยือน

3. ใช้สำหรับคล้องคอ หรือสวมคอเพื่อแสดงความยินดี หรือเป็นเกียรติแก่ผู้มี ชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ เช่น การประกวดความงาม การประกวดร้องเพลง หรือการประกวดการแสดงต่าง ๆ ฯลฯ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้มาลัยสองชาย หรืออาจเป็นมาลัยพวงดอกไม้สวย ๆ ก็ได้

4. ใช้สำหรับคล้องคอ หรือสวมคอเพื่อแสดงความยินดี หรือเป็นเกียรติแก่ผู้มี ชัยชนะในการแข่งขันต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬา กรีฑา และการละเล่นต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้มาลัยสองชาย หรือมาลัยสำหรับสวมคอเช่นกันแต่ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากมาลัยได้หลายๆงาน ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล เพียงแต่ต้องคำนึงถึงวัสดุตกแต่งให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ มีการใช้ดอกไม้ ใบไม้ หรือวัสดุทดแทนได้หลายๆอย่างตามสภาพของท้องถิ่น ฤดูกาล อาจเป็นวัสดุที่เก็บรักษาได้นาน เช่นดินปั้นดอกไม้ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย สะดวก ราคาไม่สูงมากนัก เพียงแต่คนที่จะร้อยต้องใช้เวลาฝึกฝนจนชำนาญ จึงจะร้อยได้สวยงาม

 

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการร้อยมาลัย

1. เข็มมาลัย

เป็นเข็มเหล็กหรือสเตนเลสยาวประมาณ 12 –14 นิ้ว ปลายแหลมมี 2 ขนาด

ขนาดเล็ก 6 นิ้ว ใช้กับงานละเอียด ส่วนขนาดใหญ่ใช้กับงานดอกไม้ดอกใหญ่ หรือดอกไม้ที่มีกลีบใหญ่ ๆ เวลาซื้อควรต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ ด้วย 

 

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการร้อยมาลัย 

1 . เข็มสั้นหรือเข็มมือ

หมายถึง เข็มสั้นธรรมดาใช้สำหรับเย็บดอกข่า เย็บโบ หรือร้อยอุบะก็ได้ ปกติมักจะใช้เบอร์ 8 และเบอร์ 9

2 . ด้าย

ด้ายที่ใช้ในงานมาลัยมี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ด้ายร้อยมาลัยเส้นใหญ่ (สีขาว) ควรใช้ด้ายคู่ ด้ายร้อยอุบะใช้เส้นเล็ก (สีขาว) เบอร์ 40 หรือ 60 ด้ายสำหรับเย็บ หรือ มัดดอกข่า ใช้เส้นเล็กควรใช้สีเดียวกับกลีบดอกไม้ที่ใช้ทำตุ้มดอกข่า

3. วาสลิน

เป็นน้ำมันชนิดหนึ่งใช้สำหรับทาเข็มมาลัยก่อนร้อย ขณะร้อยเพื่อให้การรูดมาลัย ออกจากเข็มได้ง่าย

4. ริบบิ้นหรือโบว์

หมายถึง ส่วนที่จะใช้ผูกติดกับมาลัยสำหรับคล้องคอ หรือใช้มือถือก็ได้ อาจเป็นริบบิ้น จากผ้าไนลอน ฟาง พลาสติก หรือริบบิ้นเงิน ริบบิ้นทอง

5. กรรไกร

ควรมี 2 ขนาด คือขนาดเล็กและขนาดกลาง

6. คีม

สำหรับไว้จับเข็มมาลัย ขณะที่ทำการรูดมาลัยออกจากเข็ม

*** นอกจากนี้แล้วยังมีมีดเล็ก , กะละมัง, ถาด, ที่ฉีดน้ำ, ผ้าขาวบาง และที่ขาดไม่ได้คือ ดอกไม้และใบไม้ที่จะใช้ร้อยมาลัย

ดอกรัก ขั้วดอกรัก ขั้วดอกชบา

ดอกรัก ขั้วดอกรัก ขั้วดอกชบา

ดอกรัก

การเลือกซื้อ/ การเลือกใช้

ดอกแข็งสีขาว ไม่ช้ำ หรือจะเก็บจากต้นเป็นช่อ มาแกะเองเพื่อคัดขนาดของดอกได้

การเก็บรักษา

อย่าพรมน้ำ เพราะจะทำให้ดอกช้ำและเน่า ควรใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น เก็บเข้าตู้เย็นชั้นล่างห่อใส่ตะแกรงผึ่งลม

 

ดอกพุด

การเลือกซื้อ/การเลือกใช้

ดอกตูม ก้านแข็ง สีเขียวนวล ไม่เหลือง (ถ้าออกเหลืองแสดงว่าดอกค้างหรือดอกไม้เก่า)

การเก็บรักษา

ห่อใบตอง ใส่ถุงพลาสติก เก็บในตู้เย็นชั้นล่าง

 

ดอกกุหลาบมอญ

การเลือกซื้อ/การเลือกใช้

กลีบไม่มีรอยช้ำ ฉีกง่าย ต้องไม่มีรูพรุน ขั้วเหนียวไม่หลุดง่าย กลีบแข็งแรง

การเก็บรักษา

เก็บในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น เก็บในตู้เย็นช่องล่างสุด หรือจะพรมน้ำแล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำให้ชื้น

 

ดอกบานไม่รู้โรย

การเลือกซื้อ/การเลือกใช้

สีดอกสด กลีบเลี้ยงใบยังสดอยู่ก้านดอกแข็ง กลีบไม่ร่วงง่าย

การเก็บรักษา

ตัดเป็นดอก เหลือก้านดอกประมาณ ๑ ๑/๒ นิ้ว ใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น เก็บเข้าตู้เย็นช่วงล่าง ถ้าไม่มีตู้เย็นให้ใส่ถาดคลุมด้วยผ้าชื้น

 

 ดอกมะล

การเลือกซื้อ/การเลือกใช้

ดอกตูมสดดอกใหญ่สีขาว หรือสีเขียวอ่อน ไม่ช้ำ

การเก็บรักษา

เก็บใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น ใส่ตู้เย็น แต่ดอกมะลิเก็บไว้ได้ไม่นานไม่เกิน ๒ วัน ดอกจะช้ำหรือดำ

 

ดอกกล้วยไม

การเลือกซื้อ/การเลือกใช้

ช่อดอกสด แข็ง ดอกยังชูช่ออยู่ ก้านแข็งสีเขียวสด ปลายกลีบดอกไม้ไม่ดำหรือเหี่ยวนิ่ม

การเก็บรักษา

ถ้าใช้แต่ดอกเด็ดดอกใส่ถุง เก็บใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่นเก็บเข้าตู้เย็นชั้นล่าง ถ้าใช้ทั้งก้านให้แช่น้ำท่วมก้าน ประมาณ ๒-๓ นิ้ว แล้วใช้ผ้าชื้นคลุมดอกไว้

 

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


Krunoi

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
การงานอาชีพและเทคโนโลยี