ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น
ต่อมไร้ท่อในร่างกาย ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา มีดังนี้
1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา
2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุฯสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)
3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู เชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้
6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น
7. ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของรางกาย
การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบ
ต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ขบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น
การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
ความเจริญเติบโตและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในร่างกายของเรา อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การทำงายของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบประสาทดำเนินไปได้ตามปกติ เราจึงควรบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ลดอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก
2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมให้ด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะด้วย
5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมหลอมโลหะ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมาก ๆ จะส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี
ที่มา : http://www.vimanloy.com/lesson/lesson1_4.php
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น
ต่อมไร้ท่อในร่างกาย ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา มีดังนี้
1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา
2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุฯสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)
3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู เชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้
6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น
7. ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของรางกาย
การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบ
ต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ขบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น
การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
ความเจริญเติบโตและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในร่างกายของเรา อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การทำงายของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบประสาทดำเนินไปได้ตามปกติ เราจึงควรบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ลดอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก
2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมให้ด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะด้วย
5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมหลอมโลหะ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมาก ๆ จะส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี
ที่มา : http://www.vimanloy.com/lesson/lesson1_4.php
Comment(s)
Vote this Content ?
|
Create by :
Status : ผู้ใช้ทั่วไป สุขศึกษาและพลศึกษา |