อักษรสามหมู่
อักษรสามหมู่หรือไตรยางค์
ไตรยางค์ ไตรยางค์ คือ การแบ่งพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ออกเป็น ๓ ส่วน ซึ่งเรียกว่า “ อักษรสามหมู่” โดยอักษรสามหมู่ประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แล้วทราบหรือไม่คะว่า เราแบ่งอักษรเป็นสามหมู่เพื่ออะไร? คำตอบก็คือ... การแบ่งอักษรเป็นสามหมู่ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปผันคำ ทั้งนี้เพราะอักษรแต่ละหมู่มีความสามารถในการผันคำได้แตกต่างกัน ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ติดตามได้ในหน้าถัดไปค่ะ อักษรสามหมู่แบ่งได้ดังนี้ อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ อักษรคู่ - อักษรเดี่ยว พยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว นอกจากจะสามารถแบ่งออกเป็นสามหมู่ หรือที่เรียกว่าไตรยางค์ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แล้ว... อักษรต่ำ ซึ่งมีทั้งหมด ๒๔ ตัว ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น อักษรคู่ และอักษรเดี่ยวได้อีกด้วยนะคะ ดังต่อไปนี้ อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่ หรือเสียงใกล้เคียงกับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ อักษรต่ำคู่ สามารถนำมาจับคู่กับอักษรสูงได้ ๗ คู่ ดังนี้
อักษรเดี่ยว หรืออักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
คำเป็น คำตาย คำเป็น คือ คำที่มีเสียงอ่านตามรูปวรรณยุกต์ได้โดยง่าย ซึ่งลักษณะของคำเป็นมีดังนี้ ๑. คำที่มีตัวสะกดอยู่ใน แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น ลง เดิน เลย เมิน สาว ๒. คำที่ประสมกับสระเสียงยาวใน แม่ ก กา เช่น ปู ม้า น่า ดู ๓. คำที่ประสมกับเสียงสระเกิน คือ อำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ใจ ไป เอา เหา ใคร ไป ไหน
คำตาย ได้แก่ คำที่มีลักษณะดังนี้ ๑. คำที่มีตัวสะกดอยู่ใน แม่ กก กด กบ เช่น เศษ เมฆ วัด รอบ ๒. คำที่ประสมกับสระเสียงสั้นใน แม่ ก กา ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา เช่น ชิ ชะ จะ เตะ
ทบทวนความรู้ : พิจารณาพยางค์ต่อไปนี้ว่าเป็นคำชนิดใด
การผันคำ การผันคำ คือ การออกเสียงพยางค์ที่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน และสระเสียงเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น ดวง ด่วง ด้วง ด๊วง ด๋วง หรือ ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า
พื้นเสียง คือ พยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น “ การ กิน ดี มี สุข” จะเห็นว่าทั้งห้าคำนี้ ไม่มีรูปวรรณยุกต์อยู่เลย จำไว้นะคะว่า คำเหล่านี้แม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่ทุก ๆ เสียง ทุก ๆ คำในภาษาไทยจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์ค่ะ
อย่างที่พี่บอกไปแล้วในตอนต้นว่า การแบ่งอักษรเป็นสามหมู่ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปผันคำ ทั้งนี้เพราะอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ มีพื้นเสียง และวิธีการผันคำที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ คำเป็นและคำตาย ก็ยังมีวิธีการผันคำที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้
๑. การผันอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห) อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว หาม ถาง ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงเอก เช่น ข่าว ฝ่า ส่ง เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้าว ฝ้า ส้ง จะเห็นได้ว่า “ อักษรสูง คำเป็น” ผันได้ ๓ เสียง คือ เสียงเอก โท ตรีและจัตวา
อักษรสูง คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขด ผด ขบ ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้ด ห้ก จะเห็นได้ว่า “ อักษรสูง คำตาย” ผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และโท
๒. การผันอักษรกลาง ( ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ) อักษรกลาง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กาย ดาว ปา ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงเอก เช่น ต่า ป่า ด่า เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ต้า ป้า ด้า เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์ตรี จะได้เสียงตรี เช่น ต๊า ป๊า ด๊า เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา จะได้เสียงจัตวา เช่น ต๋า ป๋า ด๋า จะเห็นได้ว่า “ อักษรกลาง คำเป็น” ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง และเสียงของวรรณยุกต์ก็ยังตรงกับรูปของวรรณยุกต์อีกด้วย
อักษรกลาง คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กบ กะ โดด ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ก้บ ก้ะ โด้ด เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์ตรี จะได้เสียงตรี เช่น ก๊บ ก๊ะ โด๊ด เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา จะได้เสียงจัตวา เช่น ก๋บ ก๋ะ โด๋ด จะเห็นได้ว่า “ อักษรต่ำ คำเป็น” ผันได้ ๔ เสียง คือ เสียงเอก โท ตรีและจัตวา
NOTE: สงสัยมั๊ยคะว่า... ทำไมคำพวกนี้เวลาเราผันเล่น ๆ มันก็ผันได้หมด แต่ทำไมเมื่อเอาหลักภาษาไทยมาจับ “อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ รวมทั้งอักษรคู่ และอักษรเดี่ยว” จึงไม่สามารถผันได้ครบทุกเสียงอย่างที่เราเข้าใจ ลองดูตัวอย่างค่ะ เช่น การผันอักษรสูง คำเป็น คำว่า “ฝัง” ถ้าเราอยากออกเสียงสามัญได้ ต้องออกเสียงเป็น “ ฟัง” ซึ่งเมื่อใช้ ฟ.ฟัน แทน ฝ.ฝา ก็หมายความว่าคำนั้นไม่สามารถผันเสียงได้ตามตรงรูป (ฝ.ฝา) ที่มันเป็นอยู่ ดังนั้น การผันอักษรสูง คำเป็น จึงไม่สามารถผันเสียงสามัญ และเสียงตรีได้ค่ะ ไม่เชื่อลองผันคำว่า “ ฝัง” เป็นเสียงตรีค่ะ มันจะออกเป็น “ ฟั้ง” ซึ่งเป็นรูป ฟ.ฟัน อีกตามเคย ตามหลักภาษาไทยแล้ว ถ้าเราต้องการผัน “ อักษรสูง และอักษรต่ำ” ให้ครบทั้ง ๕ เสียง ก็ต้องนำ “ อักษรคู่” (ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ) มาช่วยค่ะ จึงจะผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง เช่นคี ขี่ ขี้ (คี่) คี้ ขี
๓. การผันอักษรต่ำ ( ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ) อักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คาง ธง โชน ยาว เคย ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงโท เช่น ค่าง โค่น เท่า เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงตรี เช่น ค้าง โล้น เท้า จะเห็นได้ว่า “ อักษรต่ำ คำเป็น” ผันได้ ๓ เสียง คือ เสียงสามัญ โท และตรี เช่น
อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี เช่น รัก นะ คะ ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงโท เช่น รั่ก น่ะ ค่ะ จะเห็นได้ว่า “ อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงสั้น” ผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงโท และตรี เช่น
อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น ฟาก เชิด ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงตรี เช่น ฟ้าก เชิ้ด จะเห็นได้ว่า “ อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงยาว” ผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงโท และตรี เช่น
NOTE : มาถึงตรงนี้แล้ว ลองทายสิคะว่า คำประเภทไหนที่สามารถผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง? คำตอบก็คือ... อักษรกลาง คำเป็น ถ้าไม่เชื่อลองผันคำว่า “ ปา” จะพบว่าผันได้ดังนี้ “ ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า” เห็นมั๊ยคะว่า คำ ๆ นี้สามารถผันได้ด้วยพยัญชนะ ป.ปลา ทั้ง ๕ เสียง โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นรูปพยัญชนะตัวอื่นเลย
๔. การผันอักษรคู่ (ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ) อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่ หรือเสียงใกล้เคียงกับอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห) ซึ่งเมื่อ “ อักษรต่ำคู่” นำมาผันร่วมกันกับ “ อักษรสูง” แล้วจะได้เสียงวรรณยุกต์ครบ ๕ เสียง เช่น
๕. การผันอักษรเดี่ยว (มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ) อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ดังนั้น หากต้องการจะผันให้ครบทั้ง ๕ เสียง จะต้องใช้พยัญชนะ หรือเสียง ห. นำ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ฤ |