บทความหน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )
หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )
ในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไป หน่วยความจำหลัก จะมีขนาดจำกัดทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความ สามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงานข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์ หน่วยนับความจุของหน่วยความจำรองจะนับเป็น เมกะไบท์ ( MB ) , กิโลไบท์ ( KB ) และ กิกะไบต์ ( GB )
หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคตหรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ถูกอ้างตำแหน่งแบบฐานสอง อันเนื่องมาจากการออกแบบ ดังนั้นขนาดของหน่วยความจำจะเป็นพหุคูณของ 2 เสมอ จึงเป็นการสะดวกที่จะวัดขนาดความจุเป็นหน่วยไบนารี ส่วนการวัดขนาดความจุอื่น ๆ เช่นหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อัตราการส่งข้อมูล, ความเร็วสัญญาณนาฬิกา, จำนวนโอเปอเรชั่นต่อวินาที, และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานเลข จะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยเลขฐานสิบ ผู้บริโภคที่ไม่ทราบเรื่องความหมายที่แตกต่างกันของคำย่อเหล่านี้ จะรู้สึกว่าขนาดความจุที่เห็นจริงนั้น น้อยกว่าขนาดที่ผู้ผลิตบอกไว้ และบอกว่าโรงงานผลิตไดรวฟ์และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล จงใจเลือกใช้เลขฐานสิบเพื่อทำให้ตัวเลขดูมากกว่าความเป็นจริง แม้ว่าการวัดความจุแบบนี้จะเป็นปกติวิสัยในสถานการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
ยกตัวอย่าง ถ้าผู้จำหน่ายบอกว่าฮาร์ดไดรวฟ์มีความจุข้อมูลได้ 140 GB, ดิสก์จะสามารถจุได้ 140×109 ไบต์ โดยทั่วไป ระบบปฏิบัติการจะจองเนื้อที่ และรายงานขนาดของดิสก์และแฟ้มในหน่วยไบนารี่, และแสดงออกมาโดยใช้ตัวย่อ (เช่น GB, MB, KB) ตัวเดียวกับที่ใช้โดยระบบเลขฐานสิบ, ดังนั้นไดรวฟ์จะถูกรายงานว่ามีขนาด '130 GB' (จริง ๆ คือ 130.36 GiB) (ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเก็บแฟ้มให้มีขนาดรวมทั้งสิ้น 130.36 GiB ได้ อันเนื่องมาจาก overhead ของระบบแฟ้ม)
เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้
1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป
บิต (อังกฤษ: bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล
ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ
- 0 (ปิด)
- 1 (เปิด)
เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)
ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)
- 1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ '1.44 MB' (1,474,560 ไบต์) ขนาด '3.5 นิ้ว' (อันที่จริงคือ 90 mm)
- 1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์ (ดู อุปสรรคฐานสอง)
พหุคูณของไบต์ |
||||||
ชื่อ |
สัญลักษณ์ |
ค่าพหุคูณ |
ชื่อ |
สัญลักษณ |
ค่าพหุคูณ |
|
KB |
≈ |
KiB |
210 |
|||
เมกะไบต์ |
MB |
≈ |
MiB |
220 |
||
GB |
≈ |
GiB |
230 |
|||
TB |
≈ |
TiB |
240 |
|||
PB |
1015 |
≈ |
PiB |
250 |
||
EB |
1018 |
≈ |
EiB |
260 |
||
ZB |
1021 |
|||||
YB |
1024 |
หน่วยนับ
1 บิต(bit) = จะเป็นได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) หรือ 1 (เปิด)
1 ไบต์(byte) = 8 บิต
1 กิโลบิต(Kb) = 1000*8 บิต หรือ 1024*8 บิต
1 เมกะบิต (Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
1 จิกะบิต (Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
1 เทราบิต (Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต
ที่มา//http://th.wikipedia.org/wiki