โรค SLE

โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus)

โรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus, SLE) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ที่พบได้บ่อย โดยลักษณะพิเศษที่พบในโรคนี้คือการตรวจพบมีแอนติบอดีต่อส่วนประกอบใน นิวเคลียสของเซลล์ (antinuclear antibody, ANA) โรคนี้จะมีอาการแสดงของความผิดปกติหลายระบบในร่างกายร่วมกัน เช่น

  • ระบบผิวหนัง
  • ระบบประสาท
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • กล้ามเนื้อและข้อ
  • เม็ดเลือด
  • ไต
  • ระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคลูปัส จึงมีอาการแสดงทางคลินิกที่หลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรง และพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนอวัยวะ ผื่นโรคลูปัสและ ชนิดของอวัยวะที่มีความผิดปกติ อาการที่ไม่รุนแรง เช่น อาการผื่น ปวดข้อ ไปจนถึงอาการแสดงที่มีความรุนแรงถึงชีวิต เช่น ไตอักเสบ การดำเนินโรคในโรคลูปัสนั้น ส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาที่โรคกำเริบ และช่วงเวลาที่โรคสงบสลับกัน โดยอาการขระกำเริบนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ขณะที่มีอาการกำเริบแตกต่างกัน นอกจากนี้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลูปัส ไม่ได้จำกัดเพียงการรักษา ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการกำเริบเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการวางแผนการรักษาโรคในระยะยาวเพื่อป้องกันการกำเริบ และภาวะแทรกซ้อนทั้งจากตัวโรคและจากการรักษาโรคร่วมกับการติดตามผู้ป่วยที่ เหมาะสม

ผู้ป่วย SLE รักษาไม่หายแต่สามารถมีคุณภาพีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ ผู้ป่วยต้องทราบว่าโรคนี้จะมีบางช่วงที่ปราศจากอาการเรียก remission บางช่วงก็มีระยะที่เกิดโรคกำเริบเรียก flares ผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรคกำเริบและรู้วิธีรักษาโรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิงแต่ไม่เป็นกรรมพันธุ์ โรค SLE มีได้หลายลักษณะดังนี้

  • Systemic lupus erythematosus (SLE) หมายถึงโรคที่มีการทำอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ
  • Discoid lupus erythematosus โรคที่เป็นเฉพาะผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้า หนังศีรษะ ผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่เปลี่ยนไปเป็น SLE
  • Drug-induced lupus เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการเหมือน SLE เช่น มีผื่น ข้ออักเสบ มีไข้ แต่ไม่เป็นโรคไต เมื่อหยุดยาอาการต่างๆจะหายไป
  • Neonatal lupus ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็น SLE พบน้อยมาก

สาเหตุของโรคลูปัส SLE

แพ้แดดสาเหตุ ที่แท้จริงไม่มีใครทราบ แต่เชื่อมีปัจจัยทางพันธุกรรมส่งเสริม ซึ่งมีหลักฐานจากการเกิดโรคลูปัสในแฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกัน มีการเกิดโรคลูปัสสูงกว่าแฝดที่มาจากไข่คนละใบ นอกจากนั้นยังพบยีนที่เอื้อต่อการเกิดโรค ปัจจัยสำคัญคือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำให้เกิดโรค เช่น การติดเชื้อ ยา แสงแดด สาเคมีในสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของการเกิดโรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี SLE

อาการของโรคลูปัส SLE

แพ้แสงแดดโรคลูปัสมีความรุนแรงแต่ละคนไม่เท่ากัน และสามารถเกิดอวัยวะได้หลายอวัยวะ เช่น

  • อาการทางข้อ
  • อาการทางผิวหนัง
  • อาการทางระบบประสาท
  • อาการทางโรคเลือด
  • อาการทางโรคไต
  • อาการทางโรคหัวใจ

อาการของโรคลูปัส

การวินิจฉัยโรค SLE

เนื่องจาก ความรุนแรงของโรคในแต่ละคนไม่เท่ากัน และอาการแต่ละระบบก็มีความรุนแรงต่างกันและอาการแสดงไม่พร้อมกัน ทำให้การวินิจฉัยโรคมีความไม่แน่นอน จึงต้องวินิจฉายตามเกณฑ์ซึ่งต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายพบผื่น ข้ออักเสบ แพ้แสง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การวินิจฉัยโรคลูปัส

การรักษาโรคลูปัส

โรค ลูปัสจะเป็นๆหายๆ และมีการกำเริบ หลักสำคัญการรักษาโรคลูปัสคือการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการกำเริบ การรักษาแบ่งออกเป็นการชักนำเพื่อให้โรคสงลโดยเร็วเพื่อป้องกันไตเสื่อม เมื่อโรคสงบแล้วจะต้องป้องกันมิให้โรคกำเริบ การรักษาแบ่งออกเป็นการดูแลตัวเอง และการใช้ยา

การรักษาโรคลูปัส

โรคแทรกซ้อนของโรคลูปัส

โรคลูปัสเป็นโรคที่กระทบกับอวัยวะหลายอวัยวะและหลาย ระบบ การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากตัวโรคเอง เช่นไตวาย ซีด เกล็ดเลือดต่ำ โรคทางระบบประสาท รวมทั้งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยากดภูมิ เช่นการติดเชื้อฉวยโอกาศ เช่น วัณโรค โรคพยาธิ์ นอกจากนั้นยังต้องป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

การรักษาโรคแทรกซ้อน

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย SLE

แม้ว่าอาการของโรค SLE จะมีมากและผลข้างเคียงของยาจะมีมากแต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุข ได้ หากเรียนรู้ถึงอาการเตือนของการกำเริบของโรค  และสามารถรู้ถึงวิธีป้องกันโรค ผู้ป่วยควรไดัรับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด ไม่ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเนื่องจากการรักษาแต่เริ่มแรก จะให้ผลการรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเป็นมากแล้ว

ผู้ป่วย SLE ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่น การตรวจเต้านม การตรวจภายใน การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่รับประทานยา steroid หรือยารักษามาลาเรียควรได้รับการตรวจตาทุกปี

สัญญาณเตือนภัย

  • อ่อนเพลีย Increased fatigue 
  • ปวดข้อ Pain 
  • ผื่น Rash 
  • ไข้ Fever 
  • แน่นท้อง Stomach discomfort 
  •  ปวดศีรษะ Headache 
  •  มึนงง Dizziness

การป้องกันการกำเริบ

  • ต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย
  • ต้องตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตั้งเป้าหมายการรักษา
  • ต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด
  • รักษาสุขภาพให้ดีและคุมอาหาร
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ต้องมีเวลาผักผ่อนเพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สรุป

โรคลูปัสนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่มีความหลากหลายของอาการ และอาการแสดง แพทย์ควรมีความรู้ ความเข้าใจในการวินิจฉัย การประเมินอวัยวะที่มีอาการ ระดับการกำเริบของโรค อวัยวะที่สูญเสียหน้าที่ไปแล้ว ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกชนิดการรักษา โดยคำนึงถึงการรักษาที่พอเพียงที่จะควบคุมโรคได้ มีผลแทรกซ้อนในระยะสั้นและระยะยาวน้อยที่สุด เนื่องจากการรักษาโรคลูปัสมีระยะการรักษาโรคยาวนาน ดังนั้น นอกจากการรักษาตัวโรคแล้วยังควรให้การรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว และควรให้ความสำคัญต่อการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยถึงแนวทางการรักษา แนวทางการปฏิบัติตนซึ่งจะนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีในระยะยาว

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruray

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์