Angry Birds
ด้วยกระแสความแรงของสมาร์ทโฟนและแท็บเลต กำลังจุดพลุให้เกิดกระแสของ 'แอปพลิเคชั่น' ตามมาเป็นระลอก ซึ่งเจ้าพ่อวงการแอปพลิเคชั่นยังเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก แพลตฟอร์มไอโอเอส(iOS) ของแอปเปิล อย่างไรก็ตามกระแสแอนดรอยด์ก็เริ่มมาแรงจนกูรูทั้งหลาย ๆ ฟันธงว่า แอนดรอยด์จะเข้ามาเป็นแพลตฟอร์มคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับไอโอเอสของแอปเปิล อย่างเห็นได้ชัดในปี 2554 เนื่องจากเป็น แพลตฟอร์ม ที่ใช้ได้บนอุปกรณ์หลายรุ่น และมีแอปพลิเคชั่นออกมาจำนวนมากพอกัน
อย่างไรก็ตามในสายตาของผู้พัฒนา แอพฯมองต่างออกไป โดยเฉพาะขาใหญ่ในตลาด อย่าง 'โรวิโอ้' (Rovio) ผู้พัฒนาเกมยอดฮิต 'แองกรี้ เบิร์ดส์'(Angry Birds) ผู้ประดิษฐ์สงครามระหว่างหมูกับนกในไอโฟนจนดังเป็นพลุแตก
มองต่างออกไป พวกเขามองว่า ไอโอเอสจะยังเป็นแพลตฟอร์มหลักที่นักพัฒนาให้ความสนใจ
โดย นายปีเตอร์ เวสเตอร์แบ็คก้า หัวหน้าทีมพัฒนาของ 'โรวิโอ้' ได้เผยมุมมองเกี่ยวกับภาพรวมแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือแบบย่อ ๆ เอาไว้ว่า 'แพลตฟอร์ม ไอโอเอสของแอปเปิลจะเป็นอันดับหนึ่งในสายตาผู้พัฒนาแอปฯไปอีกนาน เนื่องจากแอนดรอยด์ไม่เหมาะสมกับแอปฯ ที่เรียกเก็บเงินผู้บริโภค'
พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าแพลตฟอร์ม แอนดรอยด์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความซับซ้อนของระบบก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย โดยปีเตอร์มองว่าความ หลากหลายของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นพื้นฐาน คงไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่น่าจะมาจากการมีแหล่งจำหน่ายแอปพลิเคชั่นมากมาย
โมเดลธุรกิจที่แตกต่างกันจำนวนมากจะก่อให้เกิดปัญหา รวมถึงเรื่องระบบต่าง ๆ ที่มีศูนย์กลางทั้งหมดมาจากกูเกิลที่ดูเหมือนจะเปิดอิสระ แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ให้อิสระแก่นักพัฒนามากขนาดนั้น ที่สำคัญคอนเทนต์แบบเก็บเงิน ดูแล้วก็ไปกันไม่ได้กับแพลตฟอร์ม แอนดรอยด์ เนื่องจากกระแสนิยมมาทางแอปฯฟรีมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้นายปีเตอร์ไม่ได้วิตกมากนัก เพราะมองว่าปัจจัยหลัก ที่จะทำให้แอปฯที่พัฒนาขึ้นมาประสบ ความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจว่า แพลตฟอร์มแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และพัฒนาโมเดลธุรกิจให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม
โดย แองกรี้ เบิร์ดส์ บนไอโฟนคิดราคาแอปฯละ 0.99 เหรียญสหรัฐ ขณะที่แองกรี้ เบิร์ดส์บนไอแพดมีราคาที่ 4.99 เหรียญสหรัฐ
สำหรับ 'แองกรี้ เบิร์ดส์' ในระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ จะเป็นโมเดลที่ เปิดให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดไปเล่นได้ฟรีและ หารายได้จากค่าโฆษณาที่ติดไปกับตัวเกม
โดยนายปีเตอร์ได้กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า 'การให้โหลดแอปฯ ได้ฟรีเป็นกระแสหลัก ที่ได้รับความนิยมบนแอนดรอยด์ ผมยังไม่เคยเห็นผู้พัฒนารายไหนที่ประสบความสำเร็จจากการขายแอปฯบนแอนดรอยด์ ซักราย'
นอกจากนี้ทางโรวิโอ้ ได้เพิ่มช่องทางหารายได้จากเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ อีกหลายวิธี ตั้งแต่การจำหน่ายตัวละครเสริมในเกมในราคา 1-2 เหรียญ รวมถึงพวกเขายังมีความคิดที่จะเซ็นสัญญากับบริษัทภาพยนตร์เพื่อนำกมแองกรี้ เบิร์ดส์ไปดัดแปลงสู่จอเงินอีกด้วย
ทั้งนี้ปัจจุบันเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ มียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 10 ล้านครั้ง ทะลุเป้า ที่ทีมพัฒนาโรวิโอ้เคยตั้งไว้แค่ 150,000 ดาวน์โหลดแบบถล่มทลาย และพวกเขาก็ไม่รอช้าอาศัยจังหวะน้ำขึ้นเตรียมแผนขยายตลาดเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ เข้าสู่เครื่องเกมคอนโซล อย่างเช่น เอ็กซ์บอก 360, เพลย์สเตชั่นสาม, นินเทนโดวี รวมไปถึงเครื่องพีซีและแมคอีกด้วย
โดยทีมพัฒนาได้วางแผนส่งเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง 'เฟซบุ๊ก' เนื่องจากพวกเขาเห็นโอกาสจากจำนวนผู้เล่นเกมฟาร์มวิลล์ และมาเฟียวอร์ส ซึ่งแองกรี้ เบิร์ดส์บนเฟซบุ๊กก็จะเป็นเกมที่เล่นได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และใน ปี 2554 ก็เตรียมส่ง 'แองกรี้ เบิร์ดส์ 2' เป็นเกมภาคต่อออกมาแน่นอน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:57:59 น. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1294286301&grpid=07&catid=00 VDO
อย่างไรก็ตามในสายตาของผู้พัฒนา แอพฯมองต่างออกไป โดยเฉพาะขาใหญ่ในตลาด อย่าง 'โรวิโอ้' (Rovio) ผู้พัฒนาเกมยอดฮิต 'แองกรี้ เบิร์ดส์'(Angry Birds) ผู้ประดิษฐ์สงครามระหว่างหมูกับนกในไอโฟนจนดังเป็นพลุแตก
มองต่างออกไป พวกเขามองว่า ไอโอเอสจะยังเป็นแพลตฟอร์มหลักที่นักพัฒนาให้ความสนใจ
โดย นายปีเตอร์ เวสเตอร์แบ็คก้า หัวหน้าทีมพัฒนาของ 'โรวิโอ้' ได้เผยมุมมองเกี่ยวกับภาพรวมแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือแบบย่อ ๆ เอาไว้ว่า 'แพลตฟอร์ม ไอโอเอสของแอปเปิลจะเป็นอันดับหนึ่งในสายตาผู้พัฒนาแอปฯไปอีกนาน เนื่องจากแอนดรอยด์ไม่เหมาะสมกับแอปฯ ที่เรียกเก็บเงินผู้บริโภค'
พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าแพลตฟอร์ม แอนดรอยด์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความซับซ้อนของระบบก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย โดยปีเตอร์มองว่าความ หลากหลายของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นพื้นฐาน คงไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่น่าจะมาจากการมีแหล่งจำหน่ายแอปพลิเคชั่นมากมาย
โมเดลธุรกิจที่แตกต่างกันจำนวนมากจะก่อให้เกิดปัญหา รวมถึงเรื่องระบบต่าง ๆ ที่มีศูนย์กลางทั้งหมดมาจากกูเกิลที่ดูเหมือนจะเปิดอิสระ แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ให้อิสระแก่นักพัฒนามากขนาดนั้น ที่สำคัญคอนเทนต์แบบเก็บเงิน ดูแล้วก็ไปกันไม่ได้กับแพลตฟอร์ม แอนดรอยด์ เนื่องจากกระแสนิยมมาทางแอปฯฟรีมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้นายปีเตอร์ไม่ได้วิตกมากนัก เพราะมองว่าปัจจัยหลัก ที่จะทำให้แอปฯที่พัฒนาขึ้นมาประสบ ความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจว่า แพลตฟอร์มแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และพัฒนาโมเดลธุรกิจให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม
โดย แองกรี้ เบิร์ดส์ บนไอโฟนคิดราคาแอปฯละ 0.99 เหรียญสหรัฐ ขณะที่แองกรี้ เบิร์ดส์บนไอแพดมีราคาที่ 4.99 เหรียญสหรัฐ
สำหรับ 'แองกรี้ เบิร์ดส์' ในระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ จะเป็นโมเดลที่ เปิดให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดไปเล่นได้ฟรีและ หารายได้จากค่าโฆษณาที่ติดไปกับตัวเกม
โดยนายปีเตอร์ได้กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า 'การให้โหลดแอปฯ ได้ฟรีเป็นกระแสหลัก ที่ได้รับความนิยมบนแอนดรอยด์ ผมยังไม่เคยเห็นผู้พัฒนารายไหนที่ประสบความสำเร็จจากการขายแอปฯบนแอนดรอยด์ ซักราย'
นอกจากนี้ทางโรวิโอ้ ได้เพิ่มช่องทางหารายได้จากเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ อีกหลายวิธี ตั้งแต่การจำหน่ายตัวละครเสริมในเกมในราคา 1-2 เหรียญ รวมถึงพวกเขายังมีความคิดที่จะเซ็นสัญญากับบริษัทภาพยนตร์เพื่อนำกมแองกรี้ เบิร์ดส์ไปดัดแปลงสู่จอเงินอีกด้วย
ทั้งนี้ปัจจุบันเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ มียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 10 ล้านครั้ง ทะลุเป้า ที่ทีมพัฒนาโรวิโอ้เคยตั้งไว้แค่ 150,000 ดาวน์โหลดแบบถล่มทลาย และพวกเขาก็ไม่รอช้าอาศัยจังหวะน้ำขึ้นเตรียมแผนขยายตลาดเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ เข้าสู่เครื่องเกมคอนโซล อย่างเช่น เอ็กซ์บอก 360, เพลย์สเตชั่นสาม, นินเทนโดวี รวมไปถึงเครื่องพีซีและแมคอีกด้วย
โดยทีมพัฒนาได้วางแผนส่งเกมแองกรี้ เบิร์ดส์ โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง 'เฟซบุ๊ก' เนื่องจากพวกเขาเห็นโอกาสจากจำนวนผู้เล่นเกมฟาร์มวิลล์ และมาเฟียวอร์ส ซึ่งแองกรี้ เบิร์ดส์บนเฟซบุ๊กก็จะเป็นเกมที่เล่นได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และใน ปี 2554 ก็เตรียมส่ง 'แองกรี้ เบิร์ดส์ 2' เป็นเกมภาคต่อออกมาแน่นอน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:57:59 น. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1294286301&grpid=07&catid=00 VDO