ม. 1 การสร้างเว็บเพจด้วย HTML

HTML คืออะไร?

HTML (ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language)   เป็นภาษาประเภท Markup Language ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ   มีแม่แบบมาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) ที่ตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย   ปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)

ภาษา HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ HTML Level 1, HTML 2.0, HTML 3.0, HTML 3.2 และ HTML 4.0    ในปัจจุบัน ทาง W3C ได้ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่ง ที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า   มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

HTML มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัย Tag ในการควบคุมการแสดงผลของข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่น ๆ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยาย เรียกว่า Attribute สําหรับจัดรูปแบบเพิ่มเติม

การสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, EditPlus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ในลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get)

แต่มีข้อเสียคือ โปรแกรมเหล่านี้มัก generate code ที่เกินความจำเป็นมากเกินไป ทําให้ไฟล์ HTML มีขนาดใหญ่ และแสดงผลช้า ดังนั้นหากเรามีความเข้าใจภาษา HTML จะเป็นประโยชน์Sให้เราสามารถแก้ไข code ได้ตามความต้องการ และยังสามารถนำ script มาแทรก ตัดต่อ สร้างลูกเล่นสีสันให้กับเว็บเพจของเราได้

การเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม Internet Web Browser เช่น Internet Explorer (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น


แนะนำก่อนเขียนภาษา HTML

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการเขียนโฮมเพจ
ก่อน ที่จะลงมือเขียนโปรแกรมภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ หรือ โฮมเพจ ได้นั้น ต้อง เช็ค ความพร้อม ของอุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการ สร้าง ก่อนว่า มีครบหรือไม่
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดตั้งแต่ 486 หรือ pentium ขึ้นไป
2. หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 MB
3. พื้นที่ฮาร์ดดิสต์ขนาดไม่น้อยกว่า 20 MB
4. Mouse
5. โปรแกรม Internet Explorer Version 3.0 ขึ้นไป
6. โปรแกรม Netscape Navigator Version 3.0 ขึ้นไป
7. โปรแกรม Notepad

โปรแกรม ทุกตัวต้องติดตั้งลงในฮาร์ดดิสต์เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ ตลอดเวลา ไฟล์ของโปรแกรม HTML เป็นแท็กซ์ ไฟล์ธรรมดา ที่ใช้ นามสกุลว่า .htm หรือ .html โดย เมื่อเรา เขียน คำสั่งต่าง ๆ ลงใน โปรแกรม Notepad แล้วเรา จะ Save ให้เป็น นามสกุลดังกล่าว ถ้าไม่เช่นนั้น เรา จะไม่สามารถ แสดงผล ได้ ทาง เบราเซอร์ และถ้ามีการแก้ไข หรือ เขียนโปรแกรม เราก็สามารถ ใช้โปรแกรม Notepad นี้เป็นตัวแก้ไขได้เลย

 


โครงสร้างพื้นฐานของ HTML
โครงสร้างของ HTML จะประกอบไปด้วยส่วนของคำสั่ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ส่วนหัว (Head) และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body) โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้



ชื่อโปรแกรมหรือข้อมูลที่ต้องการแสดงในส่วนหัว


คำสั่งหรือข้อความที่ต้องการให้แสดง



การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
ใน ความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนดนอก จากโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หรือ แม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั่งนี้เป็นเพราะ ว่าตัวโปรแกรม เว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น

ยก เว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ ต้องการ ให้แสดง อย่างไรก็ได้ เป็นเสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ ทำตำแหน่ง ใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมา เว็บเบราเซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่ ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับ casino spiele online รหัสที่กำหนดเท่านั้น

การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
หลัง จากมีการพิมพ์โปรแกรมนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ที่มีนามสกุล .htm หรือ .html จากนั้นให้เรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาทำการทดสอบ ข้อมูลที่เราสร้างจะถูก นำมาที่ออกมาแสดงที่จอภาพ ถ้าไม่เขียนอะไรผิด บนจอภาพก็จะแสดงผลตามนั้น ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเดิม ให้อยู่ในรูปของ โปรแกรมใหม่ ก็จำ เป็นต้องโหลดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการ ประมวลผลและแสดงผลออกมาใหม่ ในคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่ใช้ตัวเปิด เป็นเครื่องหมาย น้อยกว่า < ตามด้วยคำสั่ง และปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า > และมีตัวปิดที่มีรูปแบบเหมือนตัวเปิดเสมอ เพียงแต่จะมีเครื่อง หมาย / อยู่หน้าคำสั่งนั้น ๆ เช่น คำสั่งจะมีเป็นคำสั่งปิด เมื่อใดที่ผู้เขียนลืมหรือพิมพ์คำสั่งผิด จะส่งผลให้การทำงานของโปรแกรมผิดพลาดทันที


คำสั่งเริ่มต้นสำหรับ HTML

คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า <ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า>เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่ง ข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม /(Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย ในการเขียน ด้วยตัวอักษร เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนปนกันก็ได้ ไม่มีผลอะไร

คำสั่งเริ่มต้น
รูปแบบ.....
คำ สั่งเป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม และเป็นคำสั่งจุดสิ้นสุดโปรแกรมเหมือนคำสั่ง Beign และ End ใน Pascal

คำสั่งการทำหมายเหตุ
รูปแบบ
ตัวอย่าง
ข้อความที่อยู่ในคำสั่งจะปรากฎอยู่ในโปรแกรมแต่ไม่ถูกแสดง บนจอภาพ

ส่วนหัว
รูปแบบ.....
ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้ จะมีคำสั่งย่อย อีกหนึ่งคำสั่ง คือ <br /><br />กำหนดข้อความในไตเติลบาร์<br />รูปแบบ<title>.....
ตัวอย่าง บทเรียน HTML
เป็น ส่วนแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎ ขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานอยู่ ข้อความ ที่กำหนด ในส่วนนี้ จะไม่ถูกนำไปแสดง ผลของ เว็บเบราเซอร์แต่จะปรากฎในส่วนของไตเติบาร์ (Title bar) ที่เป็นชื่อของวินโดว์ข้างบนไม่ควรให้ยา เกินไป เพียงให้รู้ว่าเว็บเพจที่กำลัง ใช้งานอยู่เกี่ยวข้องกับอะไร

ส่วนของเนื้อหา
รูปแบบ.....
ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่งและจบลงด้วยภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนที่จะ แสดงทางจอภาพ




การสร้างสีสันให้กับเว็บเพจ โดยมีคำสั่งดังนี้


สีของพื้นฉากหลัง

รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ

ตัวอย่าง


เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง

สีของตัวอักษรบนเว็บ

รูปแบบ Text=#รหัสสี

ตัวอย่าง


เรา กำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของแต่ในการใส่รหัสสีนั้นเร าต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่นในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฎบนเว็บเปราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด

สีของตัวอักษรเฉพาะที่

รูปแบบ ...

ตัวอย่าง
สีแดง

คำ สั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตก ต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น สีแดงตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดง ตามที่เราต้องการทันที

สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์

รูปแบบ LINK='#รหัสสี' ALINK='#รหัสสี' VLINK'#รหัสสี'

ตัวอย่าง


กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
LINK = สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
ALIGN = สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
VLINK = สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว


 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


krupangtip

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การงานอาชีพและเทคโนโลยี