นวัตกรรมครู
การประกวดนวัตกรรมครู ระดับประเทศ กลุ่มที่ 2 โรงเรียนทั่วไป
“นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ 21”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ณ โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี
นวัตกรรมที่นำเสนอ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
1. รายงานการวิจัย ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เลขยกกำลัง ประกอบการจัด
การเรียนรู้ รายวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. Website : smartclasssy.com (สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
4. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง (ภาษาอังกฤษ)
5. VCD การสอน เรื่อง เลขยกกำลัง ผลิตร่วมกับสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ผู้นำเสนอ
นายมานัส ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
ครูเชี่ยวชาญสาขาคณิตศาสตร์
โรงเรียนสงวนหญิง สพม. 9
โรงเรียนสงวนหญิง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
การประกวดนวัตกรรมครู ระดับประเทศ กลุ่มที่ 2 โรงเรียนทั่วไป
“นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ 21
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อผลงาน การจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
1. รายงานการวิจัย ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เลขยกกำลัง ประกอบการจัด
การเรียนรู้ รายวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. Website : smartclasssy.com (สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
4. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง (ภาษาอังกฤษ)
5. VCD การสอน เรื่อง เลขยกกำลัง ผลิตร่วมกับสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายมานัส ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ตำแหน่ง ครูเชี่ยวชาญโรงเรียนสงวนหญิง
โรงเรียน สงวนหญิง 134 ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี
โทรศัพท์ 035-547-101 โทรสาร 035-547-101
โทรศัพท์มือถือ 081-809-9654 E-mail : manasthip@gmail.com
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
นโยบายระดับชาติ ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมให้สถานศึกษาจัด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C รวมทั้งทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
การจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องสามารถบริหารจัดการและจัดระบบให้กับนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะที่ว่า “ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้”และ“การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส” เพราะครูไม่สามารถสอนให้นักเรียนทุกคนเข้าใจและเรียนรู้ได้พร้อมๆ กัน ดังนั้นการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนที่สูงขึ้น รู้เท่าทันอาเซียน และเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยครูผู้สอนสามารถนำเทคโนโลยี
มาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถค้นคว้าแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตร หรือสนองความสนใจของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนั้น “สื่อประสม” จึงเข้ามามีบทบาทในการจัดเรียนรู้
จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
“เรื่องที่นักเรียนคิดว่ามีปัญหา และเข้าใจได้ยากที่สุด คือ เลขยกกำลัง” ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ว่า “การจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง เป็นเรื่องที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้าและมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุด” ประกอบกับหลักการที่ว่า “สื่อแต่ละอย่างย่อมมีดีแต่ละอย่าง ไม่มีสื่อชนิดใดจะให้ผลดีอย่างสมบูรณ์ การเรียนการสอนย่อมต้องการพัฒนาพฤติกรรมทั้งสามด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ดังนั้นการจัดเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
เพื่อช่วยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการเรียน ครูบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียน
มีคุณภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา และสอดรับกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของนวัตกรรม
2.1 เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี
2.2 เพื่อประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี ในประเด็นต่อไปนี้
2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
2.2.2 ผลการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
2.2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
3. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
3.1 กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนสงวนหญิง
ที่ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ ในรายวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้
สื่อประสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี (2) แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง
โดยใช้สื่อประสม รายละเอียดการพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตัวเอง
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.4.1 ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
3.4.2 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เรื่อง เลขยกกำลัง
โดยใช้สื่อประสม
3.4.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
3.4.4 ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม
3.4.5 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง
โดยใช้สื่อประสม
3.5 เขียนรายงานการวิจัย
3.9 เผยแพร่ผลการพัฒนานวัตกรรม ภายในโรงเรียน ต่างโรงเรียน และการประชุมวิชาการ
4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ที่จัดทำอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง มีความ
เหมาะสมที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.47/81.33 4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
4.3 ผลการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4.04 คะแนน
คิดเป็นร้อยละ 20.17
4.4 ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ว่ามีความเหมาะสมมาก
เพราะรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินกับบทเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกบทเรียนได้เอง มีทั้งเสียง
และภาพทำให้เข้าใจง่าย เพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายและสามารถย้อนดูแนวคิดข้อที่ผิดได้ มีอิสระใน
การเรียนสามารถประเมินผลการเรียนได้ด้วยตนเอง
5. บทเรียนที่ได้รับ
5.1 กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากเล่น และได้มีโอกาสศึกษาสืบค้น
จากอินเตอร์เน็ต สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของนักเรียน (สอดคล้องกับ 3R + 4C และ
ทักษะที่จำเป็น)
5.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เลขยกกำลัง เหมาะสมกับการให้นักเรียนนำไปศึกษาด้วย
ตนเองหรือขอยืมไปศึกษาเพิ่มเติมที่บ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องมีครูคอยควบคุม (สอดคล้องกับ 3R)
5.3 กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ครูควรแนะนำ
และทักษะที่จำเป็น) ครูเน้นเรื่องความรับผิดชอบ การศึกษาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต
|
ให้นักเรียนจดบันทึกสิ่งที่สำคัญในบทเรียน เช่น ตัวอย่าง สูตร แบบฝึกหัด (สอดคล้องกับ 4C
5.4 กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม ก่อนเรียนครูควรแนะนำให้นักเรียน
มีสมุดยางลบ ดินสอและปากกาใช้ในการจดบันทึกและการทดเลขด้วย (สอดคล้องกับ 3R)
5.5 กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลังโดยใช้สื่อประสม เป็นแนวทางในการจัดทำสื่อการเรียนรู้และ
การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อหลากหลายชนิด หลายวิธีการที่จะส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และ
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงและการเรียนคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ (สอดคล้องกับ
3R+4C และทักษะที่จำเป็น)
6. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
วันที่/เดือน/พ.ศ. |
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ |
ผู้จัด |
รางวัลที่ได้รับ |
|
27-28 พ.ย.53 |
การเสนอผลงานการพัฒนานวัตกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู |
สพม. เขต 9 |
เกียรติบัตรดีเยี่ยม |
|
29 ก.ย. 54 |
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ |
สพม. เขต 9 |
Best of the Best Practices เกียรติบัตร |
|
11-13 ม.ค. 55 |
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 61 ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดกาญจนบุรี |
สพป. |
รางวัล เหรียญทอง อันดับ 1 OBEC AWARDS ระดับ |
|
26 ม.ค. 55 |
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 61 ระดับชาติ ณ เมืองทองธานี |
สพฐ. |
รางวัล เหรียญทอง อันดับ 1 พร้อมโล่ OBEC AWARDS |
|
ปี 2555 |
การนำเสนอผลงานเข้ารับการคัดเลือกรางวัลครูสอนดี |
สคส |
รางวัลครูสอนดี เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท |
|
ปี 2555 |
การนำเสนอผลงานเข้ารับรางวัล |
คุรุสภา |
รางวัลหนึ่งแสนครูดี |
|
10-12 ก.ย.55 |
นำเสนอนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ |
สพฐ. ณ โรงแรม |
รางวัลดีเด่น 1 ใน 3 |
|
18-22 ม.ค. 56 |
สสวท.ร่วมกับสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ |
เกียรติบัตรการเป็นวิทยากรประชุมปฏิบัติการ |